วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

GPRS

GPRS ย่อมาจาก General Packet Radio Service นี้ไม่ใช่สิ่งใหม่แต่ประการใดในแวดวงโทรคมนาคม ซึ่งจะจัดให้มันอยู่ในเจนเนอเรชั่นที่ 2.5 G สำหรับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือ (โดย 1 G หมายถือโทรศัพท์มือถือระบบอนาล็อก, 2 G หมายถึง โทรศัพท์มือถือดิจิตอลปัจจุบันที่เราใช้อยู่)
          GPRS นั้นถือว่าเป็นบริการใหม่ที่ล้ำสมัยของโทรศัพท์มือถือที่ไม่จำกัดตัวเองอยู่แค่การใช้เสียงเท่านั้น โดยมันมีความสามารถในการส่งข้อมูลผ่านทางโทรศัพท์มือถือ ได้ด้วยความเร็วในระดับ 172 Kbps (ขณะที่โทรศัพท์มือถือดิจิตอลธรรมดาส่งได้ด้วยความเร็ว 9.6 Kbps) ซึ่งความเร็วที่สูงระดับนี้สามารถรองรับกับ การใช้งานอินเตอร์เน็ตอย่างง่ายๆ ได้อย่างไม่มีปัญหา และอีกไม่นานเราคงจะได้เห็นการใช้งานอินเตอร์เน็ตแบบย่อ ในมือคุณไม่ว่าจะเป็นการ Chat, Web, Browsing, FTP หรือ E-mail
          GPRS ได้ถูกกำหนดเป็นมาตรฐาน และมีกำหนดการที่จะออกใช้งานทั่วโลก โดยเริ่มมีการวางระบบเพื่อรองรับการใช้งานงานตั้งแต่ปี 2000 โดยปี 2001 นั้นจะเริ่มทดสอบให้บริการที่ความเร็ว 56 Kbps และ 112 Kbps ก่อน โดยทั้งหมดจะทำงานอยู่บนเครือข่ายโทรศัพท์ GSM เดิม (แต่ตัวเครื่องโทรศัพท์ GSM เดิม จะไม่สามารถใช้งานกับ GPRS ได้) จากนั้นในปี 2002 จะเข้าสู่ยุคของ 3G เสียที

GPRS คืออะไร?
          - เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นบนเครือข่ายเดิม เพื่อให้การส่งข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็ว และสะดวกยิ่งขึ้น
          - เทคโนโลยีการส่งข้อมูลแบบรวดเร็ว ซึ่งใช้ได้กับเครือข่ายระบบ GSM ช่วยเพิ่มความรวดเร็วให้กับการติดตั้ง และทำให้ระยะเวลาในการส่งข้อมูลรวดเร็วยิ่งขึ้น
          - เทคโนโลยีที่สร้างขึ้นมาเพื่อการใช้ Mobile Internet ด้วยความสะดวกยิ่งขึ้น ทำให้ท่านสามารถทำธุรกรรมต่างๆ ได้อย่างสะดวก และง่ายดายผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่
          - นวัตกรรมใหม่ที่ทำให้การส่งข้อมูลมีประสิทธิภาพ ด้วยความเร็วจากเดิมเพียงแค่ 9.6 Kbps เป็น 40 Kbps ช่วยให้ท่านสามารถเชื่อมต่อทางอินเตอร์เน็ตได้ภายในเวลาอันสั้น ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เมื่อไหร่
          - การส่งข้อมูลแบบใหม่ในรูปแบบของมัลติมีเดีย ซึ่งจะประกอบไปด้วยรูปภาพที่เป็นกราฟฟิก เสียงและวิดีโอ เช่นการใช้ Video Conference

ทำไมต้อง GPRS?
          - เพราะ GPRS ช่วยให้ส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว แม้ในช่วงเวลาที่มีการใช้อินเตอร์เน็ตมาก
          - เพราะ GPRS ทำให้ท่านเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าคุณอยู่ที่ใด และช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย
          - เพราะ GPRS ช่วยให้ท่านไม่ขาดการติดต่อ ท่านสามารถรับส่งเมล์ได้อย่างรวดเร็ว หรือแม้กระทั่งเล่น ICQ

การพัฒนาเทคโนโลยี
          หลัง จากที่วงการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ได้มีการพัฒนาด้านการสื่อสารข้อมูลผ่านโทรศัพท์มือถือ และ None Voice Application อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถสื่อสารได้ทุกรูปแบบอย่างไร้ขีดจำกัดในระหว่างเคลื่อนที่ ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารด้วยเสียงหรือข้อมูล ดั้งนั้น ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่จึงได้พัฒนา และนำเทคโนโลยีอย่างที่เห็นกันทุกวันนี้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน เช่น
          1. Short Message Service (SMS)
                    - การใช้เทคโนโลยี SMS หรือการส่งข้อความที่กำลังได้รับความนิยมกันทั่วไปมากขึ้นทุกวันในบ้านเราขณะนี้
                    - Sim Tool Kit โดยใช้ Sim Card ที่ทางผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้พัฒนา และเพิ่มเติมบริการไว้ให้ใช้งานและบริการต่าง ๆ ง่ายมากยิ่งขึ้น
          2. Circuit Switched Data (CSD)
                    - WAP หรือ Wireless Application Protocol ที่สามารถ Connect กับโลกของข่าวสารข้อมูลกับ Wap Site ต่าง ๆ ได้ทั่วโลกแม้กระทั้งในรูปแบบของ Wireless Internet

          แต่อย่างไรก็ตามทางผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ก็ยังเล็งเห็นว่า การโอนถ่ายสื่อสารข้อมูลของโทรศัพท์มือถือเคลื่อนที่ ยังมีข้อจำกัดในด้านความเร็วการรับส่ง และรวมไปถึงปริมาณข้อมูลที่สามารถทำ การรับจึงได้เริ่มพัฒนาแก้ไขเพื่อที่จะเพิ่มเติมบริการตรงส่วนบกพร่องนี้ให้ดีขึ้น จึงได้เริ่มนำเทคโนโลยีที่เรียกว่า GPRS (General Packet Radio Service)

          GPRS เป็นตัวย่อจากภาษาอังกฤษ" General Packet Radio Service"ซึ่งเป็นการส่งข้อมูลต่างๆในรูปแบบแพ็กเก็ตต่าง ๆ การเชื่อมต่อแบบใหม่ที่ใช้ระบบGPRSเข้ามาก็จะเป็นการเชื่อมต่อ และวิธีการส่งข้อมูลที่มีลักษณะเช่นเดียวกับอินเตอร์เน็ตก็คือ เมื่อต้องการข้อมูลหรือส่งข้อมูลอะไรก็แล้วแต่ ก็จะเป็นการส่งข้อมูลลักษณะนั้น เข้าไปในเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เท่านั้น ไม่จำเป็นต้องจองเวลาไว้ตลอดเวลา จึงทำให้วิธีการใช้งานของ GPRS ในแบบใหม่นี้จะเห็นได้ว่าจะมีการพูดถึง การเก็บเงินที่เป็นจำนวนข้อมูลที่รับ และส่งออกมา มากกว่าวิธีการติดต่อสื่อสารจากวิธีเดิมที่คิดจำนวนเวลาในการติดต่อสื่อสารแต่ละครั้ง
          การติดต่อด้วยระบบ GPRS ยังสามารถติดต่อสื่อสารด้วยเสียง ในขณะที่เราสามารถติดต่อสื่อสารผ่านโลกอินเตอร์เน็ตในขณะเดียวกัน ซึ่งก็คือ เราสามารถติดต่อสื่อสารทั้ง 2 ระบบ ภายในช่วงเวลาเดียวกัน แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับโทรศัพท์เคลื่อนที่ในแต่ละรุ่นที่ผลิตออกมา แต่เท่าที่ทราบในขณะนี้โทรศัพท์เคลื่อนที่แต่ละรุ่นยังไม่สามารถติดต่อสื่อสารพร้อม ๆ กันได

GPRS เชื่อมโลกอินเตอร์เน็ต บนโทรศัพท์เคลื่อนที่
          GPRS ไม่ได้เป็นลักษณะที่จะสามารถให้บริการได้ด้วยตัวของระบบเอง แต่ตัวมันเองเป็นเพียงแค่ Bearer ให้กับ Application ต่าง ๆ ที่ต้องการใช้ความเร็วที่เพิ่มมากกว่าปกติในระบบ GSM ที่เคยรองรับอยู่เดิมมาก่อน และระบบ GPRS จะต้องต่อไปยัง Packet Data Network ที่เป็น IP Network อีกต่อหนึ่ง
ดังนั้นผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่จะเปิดใช้ในระบบ GPRS ได้นั้นจะต้องทำการติดตั้งระบบเครือข่าย ที่ประกอบด้วยหน่วย
หลัก ๆ 2 หน่วยด้วยกัน คือ
           1. SGSN (Serving GPRS Supports Node)
           2. GGSN (Gateway GPRS Supports Node)
        โดยทั้งสองหน่วยหลักขององค์ประกอบนี้ จะถูกเชื่อมต่อเข้าด้วยกันโดยมีอุปกรณ์อื่น ๆ เป็นตัวช่วยเพื่อไปร่วมใช้ Radio Interface จาก Base Station โดยผ่านตัวควบคุม ที่เรียกว่า PCU (Packet Control Unit) ที่ติดตั้งไว้ที่ BSC(Base Station Controller) อันทั้งนี้อาจมองNetwork เป็นอีก Network หนึ่ง ซึ่งเข้ากับ Mobile Phoneผ่านทาง Radio Interface ของระบบ GSM Network เดิมโดยเป็นบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการรับส่งข้อมูลเป็น Packetโดยตรง

คุณสมบัติเด่นหลัก ๆ ของระบบ GPRS คือ
          1. การโอนถ่ายข้อมูลที่มีความสามารถในการ รับ- ส่งผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้สูงถึง 9 - 40 kbps ซึ่งจะทำให้สามารถรับ- ส่งข้อมูลที่เป็น VDO Mail หรือ ภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆได้ พร้อมทั้งเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้เร็ว และมีประสิทธภาพมากกว่าเดิมรวมถึงการ Down lode/Up lode ได้ง่ายยิ่งขึ้น
          2. Always On การเชื่อมต่อเครือข่ายและโอนถ่ายข้อมูลสามารถดำเนินต่อไป แม้ในขณะที่มีสายติดต่อเข้ามาก็ตาม จึงทำให้การโอนถ่ายข้อมูลไม่ขาดตอนลง
          3. Wireless Internet ที่เชื่อมต่อเข้ากับ Terminal เช่น PDA หรือ Note Book สามารถที่จะโอนถ่ายข้อมูลได้เร็วขึ้นจากที่เคยเป็นอยู่

ประโยชน์ของ GPRS
         - ประหยัดค่าใช้จ่าย  เทคโนโลยี GPRS จะทำให้การคิดอัตราค่าบริการในการใช้อินเตอร์เน็ต ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาในการรับ และส่งข้อมูล ไม่ใช่ช่วงเวลาในการเชื่อมต่อ ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้ จ่ายเพียงแค่อัตราค่าบริการในการดาวน์โหลด และอัพโหลดเท่านั้น
         - รวดเร็วยิ่งขึ้น  GPRS จะช่วยให้ท่านเชื่อมต่อ และรับข้อมูลจ่าง ๆ ผ่านอินเตอร์เน็ตด้วยระยะเวลาที่รวดเร็วกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ GSM ทั่วไป ทำให้การเข้าสู่ web หรือการรับส่งe-mail เป็นไปอย่างสะดวก และง่ายดาย
         - คุ้มค่า  เพราะมีค่าใช้จ่ายน้อย แต่รับผลตอบแทนจากการรับ-ส่งข้อมูลอย่างมากมาย
         - น่าใช้  GPRS ทำให้ท่านได้รับข้อมูลในทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบข้อความ หรือรูปแบบมัลติมีเดีย ซึ่งประกอบไปด้วยรูปภาพ เสียง และวีดิโอ ทำให้การติดต่อสื่อสารของคุณผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ไม่ซ้ำซากอีกต่อไป

GPRS ดีกว่าระบบ GSM เดิมอย่างไร?
          - ความเร็วที่เพิ่มขึ้น จาก 9.6 Kbps เป็น40 Kbps
          - สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา (Always On) โดยไม่เสียค่าบริการ และยังสามารถโทรออก และรับสายโทรเข้าได้ ในขณะที่คุณเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอยู่
          - เสียค่าบริการจากจำนวนข้อมูลที่เราทำการรับ หรือส่ง (Download หรือ Upload) เท่านั้น
          - สามารถรับข้อมูลในรูปแบบของ Multimedia ได้ เช่นการชม Video Clip ผ่านทางอุปกรณ์ PDA ได้

บริการในระบบ GPRS
          ด้วยโทรศัพท์มือถือในระบบ GPRS คุณสามารถเข้าสู่บริการ non voice ที่หลากหลายจาก mobileLIFE โดยบริการใหม่ล่าสุดคือบริการ mClose2me, mDiscount, และ Advanced Mail จาก mMail นอกจากนี้คุณยังสามารถใช้บริการอื่นๆที่มีอยู่เดิม เช่น mInfo, mEntertain, mBanking, mMail, mChat, mShopping และ mMessaging ด้วยความเร็วที่สูงขึ้นได้อีกด้วย
          มากไปกว่านั้นคือถ้าคุณใช้โทรศัพท์มือถือระบบ GPRS ต่อเชื่อมเข้ากับ PDA หรือ Computer Notebook ของคุณ คุณจะสามารถ Browse สู่โลกอินเตอร์เน็ตอย่างง่ายดายทุกที่ ทุกเวลา และคุณยังสามารถรับข้อมูล ข่าวสารในรูปแบบของ Video ไม่ว่าจะเป็นรายการกีฬา, ละคร, ข่าว, และ ข้อมูลสภาพการจราจร ที่จะทำให้ชีวิตของคุณ ต่อติดกับโลกที่เปลี่ยนแปลง ไปอย่างรวดเร็วอยู่เสมอ

รูปแบบการให้บริการของ GPRS
           - Textual And Visual Information บริการนี้เป็นจุดแตกต่างอย่างแรกที่ GPRS เหนือกว่า GSM ทั่วไป โดยสามารถส่งข้อมูลที่เป็นตัวอักษร หรือรูปภาพกราฟิกไปยังโทรศัพท์มือถือได้อย่างสะดวกรวดเร็วซึ่งจะทำให้ GPRS แทรกซึมเข้าสู่การใช้งานของคนทั่วไป ได้ทั้งข่าวความเคลื่อนไหว, ข้อมูลที่คนส่วนใหญ่สนใจ รวมทั้งบริการต่างๆ ที่จะเสริมเข้ามาในอนาคต
           - Still Images เป็นการส่งภาพนิ่งความละเอียดสูงไปมาระหว่างเครื่องด้วยกันได้ ทำให้สามารถส่งผ่านความรู้สึกดีๆ ผ่านภาพถ่าย หรือการ์ดอวยพรได้เลย รวมทั้งภาพที่ถ่ายได้จากกล้องดิจิตอล ก็สามารถโอนแล้วส่งต่อไปได้ทันที
           - Moving Images นอกเหนือจากภาพนิ่งแล้ว ภาพเคลื่อนไหวก็สามารถส่งต่อกันไปได้เช่นกัน เช่น การประชุมทางไกล หรือ การส่งภาพจากกล้องวงจรปิดไปยังโทรศัพท์มือถือ ในกรณีประยุกต์ใช้กับระบบรักษาความปลอดภัย
           - Chat เป็นคุณสมบัติที่คงจะถูกใจของผู้รักการคุยแบบไม่ใช้เสียง ซึ่งสามารถสนทนากันได้ทั้งแบบเป็นคู่ หรือเป็นกลุ่มได้อย่างสบายใจ ซึ่งจุดเด่นที่สำหรับ สามารถ Chat ได้ทุกที่ที่อยากจะ Chat
           - Web Browsing เป็นการเข้าสู่ World Wide Web ด้วยการใช้โทรศัพท์มือถือ ซึ่งความเร็วมีให้เลือกตั้งแต่ 56 Kbps ไปจนถึง 112 Kbps การท่องเว็บจึงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แม้รูปแบบการแสดงผลจะแตกต่างจากการท่องเว็บ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์อยู่บ้าง
           - E-Mail เป็นบริการพื้นฐานที่มีคนนิยมใช้งานมากที่สุดสำหรับการส่งข้อความ โดยจะมีการใช้ในรูปของ SMS (Short Message Service) ที่เราคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว
           - File Transfer เป็นบริการโอนถ่ายไฟล์ข้อมูลซึ่งน่าจะใช้งานกันอย่างแพร่หลายขึ้น GPRS เพราะความเร็วดูจะเหนือกว่าการใช้งานผ่านโมเด็ม กับโทรศัพท์พื้นฐานที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันมาก โดยจะรองรับกับโปรโตคอล FTP และแอพพลิเคชั่นที่อ่านข้อความอย่าง Acrobat Reader
           - Audio แน่นอนว่าโทรศัพท์ต้องมีเสียง แต่บริการด้านเสียงของ GPRS จะเหนือกว่าโทรศัพท์มือถือเดิม ๆ ที่เรารู้จัก เนื่องจากความคมชัดของสัญญาณเสียงที่เหนือกว่า และยังประยุกต์ใช้ในการเก็บไฟล์เสียงเพื่อนำไปใช้งานในด้านต่างๆ ด้วย เช่น การวิเคราะห็รายละเอียดของเสียงในงานของตำรวจ เป็นต้น
           - Remote LAN Access เราสามารถเข้าถึงเครือข่ายความพิวเตอร์ โดยใช้โทรศัพท์มือถือ แทนเบอร์โทรศัพท์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้านได้อย่างง่ายดาย ซึ่งความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูลจะเหนือกว่าโทรศัพท์พิ้นฐานทั่วไป
           - Vehicle Positioning เป็นความสามารถในการบอกตำแหน่งของยานพาหนะที่เราใช้อยู่ โดยจะสามารถเชื่อมต่อกับดาวเทียม ซึ่งจะสามารถบอกตำแหน่งที่เราอยู่โดยอ้างอิงกับ เครื่องโทรศัพท์มือถือได้อย่างแม่นยำ








3G

3G 


3G มาจากคำว่า 3rd Generation คือ มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 ซึ่งพัฒนาขึ้นมาเพื่อแทนทีระบบ 2G ที่ประเทศไทยใช้อยู่ในปัจจุบัน โดย กสทช. จะจัดให้มีการประมูลใบอนุญาต 3G บนคลื่อนความถี่ 2.1 Hz หรือ 2100MHz ในวันนี้ (16 ตุลาคม 2555) เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือในการรับ-ส่งข้อมูลได้ รวดเร็วขึ้น พร้อมทั้งสามารถรองรับจำนวนผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้นได้อีกด้วย และแข่งขันด้านโทรคมนาคมกับต่างประเทศได้ 

เกร็ดความรู้ : คำจำกัดความของ 3G

สำหรับคำจำกัดความของ 3G ก็คือระบบโทรศัพท์เคลื่นที่ในยุคที่ 3 ซึ่งสามารถรับส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงในระดับ 2Mbps แต่ปกติจะอยู่ที่ 384Kbps ตรงนี้เป็นคำตอบว่า การกำหนดเพดานการใช้งานการเชื่อมต่อดาต้าหากใช้งานจนครบระยะเวลาที่กำหนดที่ความเร็ว 384Kbps นั้นยังถือว่าเป็น 3G อยู่
เมื่อได้ทราบข้อมูลแล้วว่าทำไมถึงเป็น 3G 2100MHz ต่อไป เพื่อนๆจะต้องพิจารณาตัวเครื่อง สมาร์ทโฟน แอร์การ์ด หรือ Mi-Fi ส่วนผู้ให้บริการ ก็คงจะนำเครื่องมาให้บริการจำหน่ายพร้อมซิมและโปรโมชั่น เมื่อเวลานั้นมาถึง (ราคาจะสูงแค่ไหน ต้องรอติดตามชม! >,<)









 3G ในประเทศไทย

ย้อนกลับไปที่การสัมปทานคลื่นความถี่ในการให้บริการโทรศัพท์มือถือ เริ่มจากระบบ GSM ในยุคก่อน (โทรออก-รับสาย รับส่ง SMS) ก็จะมี AIS, DTAC, TAO (TA Orange ในสมัยนั้น) ต่อมาเป็นยุคของ GPRS จากนั้นต่อกันที่ยุคของ EDGE หรือเรียกเล่นๆว่า 2.5G และมีระบบ W-CDMA ถ้าใครยังจำกันได้ สมัยนั้นมีค่ายมือถือ Thai Mobile ด้วย และหากย้อนความกลับไปก่อนที่ TruemoveH จะเกิด ก็มี Hutch-CAT ให้บริการเครือข่าย CDMA บนความถี่แบบ 1x EV-DO
ในยุค 2G (โทรสนทนาปกติ, รับส่งข้อความ SMS)
- คลื่นความถี่ 900MHz คือ AIS (หลังจากนั้น AIS ก็นำคลื่นความถี่เดียวกันนี้ มาทำ 3G)
- คลื่นความถี่ 850MHz คือ DTAC/Truemove/DPC อย่าจำสับสนกับระบบโทรศัพท์ 1800MHz (ภายหลัง dtac, Truemove ก็ทดลองใช้ 3G บนคลื่นความถี่ 850MHz เหมือนกัน)
- คลื่นความถี่ 1900MHz ได้แก่ Thai Mobile (คือ TOT + CAT นั่นเอง)
- ในขณะที่ Hutch+CAT ให้บริการ CDMA 2000
- และล่าสุด ปีที่แล้ว Truemove + CAT ให้บริการ TruemoveH โดยใช้คลื่นความถี่ 3G เดิมคือ 850MHz
- TOT ให้บริการบนคลื่นความถี่ 2100MHz แล้วให้ผู้ให้บริการรายต่างๆ อย่าง i-mobile, i-kool เป็นคนทำตลาดให้ แล้วเช่าเสาทำ MNVO  ยุคถัดไปมีคลื่นใหม่คือ 2.3GHz (TOT) และ 2.6GHz ยังไม่มีรายใดเป็นเจ้าของคลื่น ซึ่งตรงนี้คือยุคของ LTE ซึ่งจะก้าวเข้าสู่ยุค 4G Candidate ในที่สุด

ที่นี้ทำไม 3G ต้องแบ่งเป็นหลายคลื่นความถี่ล่ะ?
แล้วทำไมต้องขายเครื่องแยกด้วยล่ะ ในสมัยที่เราโทรออก – รับสายนั้น เรามักจะเลือกซื้อเครื่องพร้อมเบอร์ เพราะ AIS เป็นคลื่น 900MHz, Dtac, Truemove เป็นคลื่น 1800MHz และตอนนั้นมี DPC หรือ GSM 1800 เป็นคลื่น 1800MHz สมชื่อ แต่พอเป็นยุค 3G แล้วก็ต้องเลือกอุปกรณ์ให้ตรงกับคลื่นความถี่
จากสาเหตุที่เครือข่ายให้บริการ 2G และ 3G คนละความถี่ ทำให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ จำเป็นจะต้องนำตัวเครื่องอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือมาจำหน่ายเอง เพื่อให้สามารถใช้งานได้บนเครือข่ายของตน และบางรุ่นหากผู้ให้บริการไม่ได้นำเข้ามาขายอย่างเป็นทางการ ผู้ใช้ก็จะไปหาเครื่องนอกที่รองรับเครือข่ายของตนมาใช้งานแทน ดังนั้นจะเห็นว่า การประมูลคลื่นความถี่ 3G นั้นจะเป็นตัวกำหนดอุปกรณ์การใช้งานของเรา หากใครยังจำได้ iPhone 3GS ไม่สนับสนุน 3G 900MHz ของ AIS ดังนั้นผู้ใช้ iPhone 3GS จะใช้งาน 3G ได้เต็มประสิทธิภาพเฉพาะบน 3G dtac และ truemove เท่านั้น เช่นเดียวกับที่หลายๆคนเคยสงสัยว่า ทำไมสมาร์ทโฟนจึงมีการแยกขายเครื่องแต่ละผู้ให้บริการ เนื่องจากมีการปรับแต่งให้เหมาะสมกับความถี่ 3G ของแต่ละค่ายนั่นเอง
และจุดนี้เองก็เป็นสาเหตุที่ทำให้มีการประมูล 3G บนคลื่นความถี่ 2100MHz เพราะในตอนนี้ ต่างคนต่างนำคลื่นความถี่เดิม มาให้บริการ 3G ก่อน เนื่องจากใกล้หมดระยะเวลาสัมปทานคลื่นแล้ว หากมีการประมูลคลื่นความถี่ใหม่ ก็จะมีตัวเครื่องและอุปกรณ์ที่รองรับ 3G ก็จะมากขึ้น
เมื่อเข้าใจพื้นฐานแล้ว ว่าแต่ละค่ายตอนนี้ใช้คลื่นความถี่ใดอยู่ ก็ลองมาดูว่า คลื่น 2100MHz นั้นดีอย่างไร อย่างแรกคือเป็นความถี่สากลที่โอเปอเรเตอร์มือถือทั่วโลกให้บริการ 3G เพราะปกติแล้ว มือถือ แอร์การ์ด มักจะรองรับ 900/2100MHz, 850/2100MHz คือไม่ว่ารุ่นใด ก็รองรับ 3G 2100MHz นั่นหมายถึงว่า เสรีในการนำเครื่องรุ่นใดมาใช้ก็ได้หากรองรับและไม่ติดล็อก







4G

เทคโนโลยี 4G


เทคโนโลยี 4จี เป็นเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงชนิดพิเศษ หรือเป็นเส้นทางด่วนสำหรับข้อมูลที่ไม่ต้องอาศัยการลากสายเคเบิล โดยระบบเครือข่ายใหม่นี้ จะสามารถใช้งานได้แบบไร้สาย รวมถึงคุณสมบัติการเชื่อมต่อเสมือนจริงในรูปแบบสามมิติ (three-dimensional) ระหว่างผู้ใช้โทรศัพท์ด้วยกันเอง นอกจากนั้น สถานีฐาน ซึ่งทำหน้าที่ในการส่งผ่านสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่จากเครื่องหนึ่งไปยังอีก เครื่องหนึ่ง และมีต้นทุนการติดตั้งที่แพงลิ่วในขณะนี้ จะมีให้เห็นกันอย่างแพร่หลายเช่นเดียวกับหลอดไฟฟ้าตามบ้านเลยทีเดียว สำหรับ 4จี จะสามารถส่งผ่านข้อมูลแบบไร้สายด้วยระดับความเร็วสูงที่เพิ่มขึ้นถึง 100 เมกะไบต์ต่อวินาที ซึ่งห่างจากความเร็วของชุดอุปกรณ์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ที่ระดับ 10 กิโลบิตต่อวินาที



ลักษณะเด่นของ 4G

4G คือ Forth Generation ซึ่งในบ้านเรายังไม่มีให้เห็นกัน เมื่อพูดถึงเทคโนโลยีสื่อสารในยุค 4G เรื่องความเร็วนั้นเหนือกว่า 3G มาก คือทำความเร็วในการสื่อสารได้ถึงระดับ 20-40 Mbps เมื่อเทียบกับความเร็วที่ได้จาก 3G นั้นคนละเรื่องกันเลย ที่ญี่ปุ่นนั้นเครือข่ายโทรศัพท์ที่ใช้เทคโนโลยี 4G สามารถให้บริการรับชมรายการโทรทัศน์ผ่านมือถือได้แล้ว หรือจะโหลดตัวอย่างภาพยนตร์มาชมบนโทรศัพท์มือถือก็มีให้เห็นเช่นกัน ทำไมญี่ปุ่นถึงรีบกระโดดไปสู่ยุค 4G กันเร็วเหลือเกิน คำตอบง่าย ๆ ก็คือ ดิจิตอลคอนเทนต์ เป็นตัวผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นนั่นเอง เมื่อผู้ให้บริการหลายหลายรูปแบบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยจำเป็นต้องอาศัยเครือข่ายที่มีความเร็วสูง สามารถรับส่งข้อมูลได้ในปริมาณมาก ๆ ดังนั้น การผลักดันตัวเองให้เข้าสู่ยุค 4G ที่ใช้เทคโนโลยีที่เหนือกว่า 3G ก่อนคู่แข่ง? น่าจะเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องที่สุด
ความ โดดเด่นของ 4G คือ ถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานบนเครือข่ายที่กินพื้นที่กว้างก็ได้หรือจะทำเป็น เครือข่ายขนาดย่อม ๆ แบบ WLAN ได้อีกด้วย นั่นจึงทำให้หลายคนมองว่า 4G จะมาเบียดเทคโนโลยีของ Wi-Fi หรือไม่? เพราะสามารถใช้งานได้ทั้งสองแบบ?
อย่าง ไรก็ตามในประเทศไทยยังคงอิงกับมาตรฐานของ 3G อยู่ ซึ่งยังไม่มีทีท่าว่าจะขยับขยายไปสู่ยุค 4G เลย เพราะว่า Wimax กำลังเข้ามานั่นเอง ระบบสื่อสารแห่งอนาคตที่ให้ความยืดหยุ่นสูง สามารถครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างไกล ความเร็วในการสื่อสารสูงสุดในขณะนี้
ใน เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ทำไมไม่รวมเทคโนโลยี 3G กับ WiMAX เข้าด้วยกัน และพัฒนาให้เป็น interim 4G หรือ 4G เฉพาะกิจ เพื่อไปเร่งพัฒนา 4G ตัวจริง (Real 4G) กันออกมาไม่ดีกว่าหรือ จึงเป็นเสียงที่คิดดังๆจากหลายกลุ่มในปัจจุบัน
แน่ นอนที่ว่า คงจะไม่ใช่แนวคิดของ 4G ที่หลายฝ่ายตั้งความหวังไว้ เพราะอย่างน้อยที่เห็นได้ชัดเจนอย่างหนึ่งคือ เทคโนโลยีทั้งสองยังไม่สามารถรองรับความเร็วในการสื่อสารข้อมูลที่ดาวน์ ลิงค์/อัพลิงค์ (downlink/uplink) ขณะกำลังเคลื่อนที่ในกรณีของ GSM ที่ 100 mbps/50 mbps และกรณี CDMA ที่ต้องการให้เหนือกว่า GSM โดยจะให้มีความเร็วเป็น 129 mbps/75.6 mbps
ทำไมจึงอยากได้ 4G
เป็น คำถามที่น่าสนใจ มีเหตุผลอะไรจึงอยากได้เทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุคที่ 4 หรือ 4G กันมาก ถ้าจะสรุปเป็นคำตอบก็คงจะได้หลายประการด้วยกัน ซึ่งจะกล่าวถึงพอเป็นสังเขปดังนี้
1. สนับสนุนการให้บริการมัลติมีเดียในลักษณะที่สามารถโต้ตอบได้ เช่น อินเทอร์เน็ตไร้สาย และ เทเลคอนเฟอเรนซ์? เป็นต้น
2. มีแบนด์วิทกว้างกว่า? สามารถรับ-ส่งข้อมูลด้วยอัตราความเร็ว (bit rate) สูงกว่า 3G
3. ใช้งานได้ทั่วโลก (global mobility) และ service portability
4. ค่าใช้จ่ายถูกลง
5. คุ้มค่าต่อการลงทุนด้านโครงข่าย
พัฒนาการของ 4G สำหรับมาตรฐานต่างๆ
หาก พิจารณาในบริบทของมาตรฐานเทคโนโลยีระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่เซลลูลาร์แบบดิจิ ทัลที่ใช้งานกันอยู่ในขณะนี้ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ค่ายใหญ่ๆ คือ จีเอสเอ็ม (GSM) และ ซีดีเอ็มเอ (CDMA) แล้วสามารถสรุปเป็นตารางเปรียบเทียบลำดับพัฒนาการของมาตรฐานได้ดังตารางข้าง ล่างนี้

ในการพัฒนาเทคโนโลยี 4G ของ GSM กับ CDMA นั้น ยังคงแข่งขันกันอยู่ต่อไป กล่าวคือ
GSM จะพัฒนาสู่ 4G โดยใช้รูปแบบการเข้าถึง (access type) เป็น UMTS LTE (Universal Mobile Telephone System ? Long term Evaluation) คาดหมายว่า จะสามารถทำความเร็วในการดาวน์ลิงค์ / อัพลิงค์ได้ที่ 100 mbps / 50 mbps
ใน ขณะที่ CDMA ใช้รูปแบบการเข้าถึงเป็น CDMA EV-DO Rev.C (กล่าวคือ เป็น UMB หรือ Ultra-mobile broadband) และมีความเร็วในการดาวน์ลิงค์ / อัพลิงค์ที่ 129 mbps / 75.6 mbps
ตัวเลขความเร็วของทั้งสองค่ายจะเป็นราคาคุยหรือไม่คงต้องติดตามผลกันต่อไป
หาก 4G จะเกิดจากการรวม WiMax เข้ากับ 3G
ท่าม กลางกระแสการแข่งขันระหว่างเทคโนโลยี 3G ที่กำลังถูกเทคโนโลยีใหม่อย่างไวแมกซ์ (WiMAX) เข้ามาตีเสมอ และในอนาคตมีแนวโน้มว่าจะมีโอกาสมาเหนือกว่า 3G อีกด้วย?
นัก วิเคราะห์และผู้เกี่ยวข้องในวงการโทรคมนาคมหลายกลุ่ม กล่าวกันถึงขนาดที่ว่า ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เซลลูลาร์ของหลายประเทศที่ปัจจุบันครองตลาด ส่วนใหญ่ของประเทศหรือมีอำนาจเหนือตลาดคงจะไม่ยอมให้บริการไวแมกซ์เกิดขึ้น ในตลาดได้ง่ายๆ ประกอบกับบางประเทศยังมีปัญหาต่างๆที่เป็นอุปสรรคต่อการให้บริการไวแมกซ์ เช่น แผนเลขหมายแห่งชาติที่มีการจัดสรรความถี่ให้กับบริการไวแมกซ์ กฎ ระเบียบในการกำกับดูแลเพื่อให้เกิดความเรียบร้อยและมีการแข่งขันที่เป็นธรรม และความพร้อมในการลงทุนของผู้ให้บริการ เป็นต้น
หาก จะรวมกันจริงๆแล้ว หลายฝ่ายยังมีความเชื่อว่า 3G คงจะไม่ถึงกับไปรวมอยู่ใต้เทคโนโลยีที่เป็นหนึ่งเดียว เนื่องจาก 4G ควรจะเป็นเทคโนโลยีที่สามารถเข้าถึงได้ที่ระดับความเร็วอิเธอร์เน็ต (เช่น 10 Mbps) และใช้งานร่วมกัน (integrated) ได้ทั้งในลักษณะที่เป็นเครือข่ายท้องถิ่นหรือแลน (LAN | local area network) กับแวน (WAN | wide area network) แบบไร้สาย ด้วยการรวมเทคโนโลยี 3G และ WiMAX เข้าด้วยกันในเครื่องเดียวกัน
โดยมาตรฐานของ WiMax หรือ 802.16 สามารถให้บริการด้านบรอดแบนด์ไร้สายได้ไกลถึง 30 ไมล์ด้วยความเร็วประมาณ 10 Mbps
สิ่ง ที่ยังเป็นปัญหาอยู่สำหรับบริการ WiMAX มีหลายประการที่ต้องมีการพัฒนาต่อไปจากที่สามารถแก้ปัญหาบางอย่างได้ในระดับ หนึ่งแล้ว เช่น ตัวมาตรฐานเองที่ยังไม่ค่อยนิ่งเท่าใดนัก การพัฒนาอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องของโครงข่าย (ซึ่งรวมถึงตัวเครื่องลูกข่ายด้วย) การเคลื่อนที่ของลูกข่ายจากสถานีฐานหนึ่งไปยังอีกสถานีฐานหนึ่งโดยไม่มี ปัญหาสายหลุดหรืออาการสัญญาณสะดุด เป็นต้น
จึง เป็นที่เชื่อได้ว่าในขณะนี้คงต้องรอให้มาตรฐานเทคโนโลยี WiMAX ผ่านกระบวนการพัฒนาจนถึงขั้นเป็นมาตรฐานที่สมบูรณ์ (mature) แล้ว อาจเป็นไปได้ที่จะมีความพยายามนำเทคโนโลยี 3G และ WiMAX มาผสมผสานกันเป็น 4G หากกลุ่มที่พัฒนา 4G ไม่รีบชิงพัฒนา 4G หนีการรวมตัวกับ WiMAX ไปเสียก่อน